วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำกุรบ่าน

การกุรบานในอิสลาม

การกุรบานเป็นอิบาดะฮ์หนึ่งจากอิบาดะฮ์ด้านทรัพย์สินและเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอิสลาม ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเนื่องจากคุณสมบัติพิเศษนี้เองจึงทำให้การกุรบานเป็นอิบาดะฮ์ที่ความสำคัญและสถานภาพที่สูงส่งอีกอิบาดะฮ์หนึ่ง
ความหมายของกุรบาน
ความหมายตามพจนานุกรม กุรบาน หมายถึง การนำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเป็นสื่อในความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ) ซึ่งสิ่งนั้นอาจจะเป็นการเชือดสัตว์หรือสิ่งอื่นๆ ก็ได้
อุลามาอ์บางท่านกล่าวว่า การกระทำทุกๆ ความดีงามที่เหตุให้มุ่งสู่ความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ) ก็เรียกว่า “การกุรบาน” เช่นกัน
แต่ตามความเข้าใจของผู้คนทั่วไปจะเรียกการกุรบาน ว่าคือ การนำสัตว์มาเชือดพลีทาน เพื่อความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้าในวันอีดกุรบาน และคำนี้มีกล่าวไว้หลายครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งส่วนมากแล้วจะหมายถึงการเชือดสัตว์พลีทาน
ประวัติความเป็นมาของการกุรบาน
การกุรบานเพื่อความใกล้ชิดต่อพระผู้อภิบาลนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคของท่านนบีอาดัม(อ.) ผู้เป็นบิดาแห่งมนุษยชาติ เมื่อครั้งที่บุตรทั้งสองของท่าน ฮาบีลได้นำอูฐและกอบีลได้นำข้าวบาเล่ย์มาทำกุรบานต่อพระผู้อภิบาล ซึ่งพระองค์ทรงตอบรับการกุรบานของฮาบีลในครั้งนั้น
อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 27 ว่า:
إِذْ قَرَّبَا قُرْبَانًا فَتُقُبِّلَ مِنْ أَحَدِهِمَا وَلَمْ يُتَقَبَّلْ مِنَ الآخَر
“ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสองคนและมิได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง”
หลังจากนั้นเป็นต้นมาศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้าก็ถือว่าการกุรบาน เป็นอิบาดะฮ์หนึ่ง และเราจะเห็นได้ว่าทุกๆประชาชาติไม่ว่าจะนับถือศาสนาที่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ต่างก็นำสัตว์มาเชือดพลีทานหรือนำสิ่งอื่นมาพลีต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของพวกเขา
เหตุการณ์การกุรบานครั้งประวัติศาสตร์
การกุรบาน คือสัญลักษณ์หนึ่งของศาสนา และเป็นบัญญัติหนึ่งมาตั้งแต่ยุคสมัยของท่านนบีอาดัม(อ.) แต่เหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในยุคบุรุษแห่งประวัติศาสตร์ ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) ที่ท่านได้นำ อิสมาอีลบุตรชายคนเดียวของท่านมาทำการกุรบาน และหลังจากได้ผ่านการทดสอบครั้งประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นี้ ยิ่งทำให้การกุรบานมีความสำคัญและสถานภาพที่สูงส่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะบุคคลิกภาพที่สูงส่งของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) นั้นเป็นที่ยอมรับของศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอิสลาม ยูดายและคริสต์ และเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและน่าแปลกยิ่ง ก็เนื่องจากว่าผู้เป็นบิดาได้ทำการกุรบานบุตรชายสุดที่รักคนเดียวของท่าน โดยเหตุการณ์ครั้งได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ศอฟฟาต และยังถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ของชาวคริสต์เช่นกัน
การกุรบานบุตรชาย
อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า:
فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قَالَ يَا بُنَيَّ إِنِّي أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ فَانْظُرْ مَاذَا تَرَى قَالَ يَا أَبَتِ افْعَلْ مَا تُؤْمَرُ سَتَجِدُنِي إِنْ شَاءَ اللَّهُ مِنَ الصَّابِرِينَ
ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นช่วยเหลือตัวเองกับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ลูกเอ๋ย! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร?” เขากล่าวว่า “โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีความอดทน” (ซูเราะฮ์ศอฟฟาต โองการที่ 102)
กล่าวคือเป็นวัยที่อิสมาอีลสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้วซึ่งนักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่ามีอายุประมาณ 13 ปี
ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) ฝันเห็นเรื่องราวอันแปลกประหลาด (ความฝันของบรรดาศาสดาเป็นวะฮ์ยูของพระผู้เป็นเจ้า) ความฝันอันแปลกประหลาดนี้คือจุดเริ่มต้นของการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านทำการกุรบานบุตรชายสุดที่รักคนเดียวของท่าน ผู้เป็นบิดาได้เล่าความฝันทั้งหมดให้บุตรชายฟังและนับได้ว่าเป็นบททดสอบที่หนักที่สุดและเป็นบททดสอบสุดท้ายของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)
قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيَا إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ (105) إِنَّ هَذَا لَهُوَ الْبَلاءُ الْمُبِينُ (106) وَفَدَيْنَاهُ بِذِبْحٍ عَظِيمٍ
“แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย” แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้งแน่นอน และเราได้ให้ค่าไถ่ตัวเขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง (ซูเราะฮ์ศอฟฟาต โองการที่ 105)
พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแกะตัวใหญ่มาแทนการเชือดอิสมาอีล และได้กลายเป็นแบบฉบับสำหรับประชาชาติในพิธีฮัจญ์ในผืนแผ่นดินมีนานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
















กรุบาน,การทำกรุบาน



الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

สัตว์จำพวกแพะแกะใช้ทำกุรบ่านได้ เพียง 1 ส่วน แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่จำพวกอูฐ และวัว อนุญาตให้ร่วมกันทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน ไม่ว่าผู้ร่วมทำกุรบ่านตัวนั้นจะเป็นคนในครอบครัวเดียวกันหรือไม่ก็ตามหรือ จะมีความแตกต่างกันในเป้าหมาย เช่น 1 ใน 7 คนต้องการทำกุรบ่าน (อุฎฮียะฮฺ) ในขณะที่บางคนต้องการเนื้อเอาไว้รับประทาน บางคนต้องการส่วนเพื่อทำอะกีเกาะฮฺ และไม่ว่าบางส่วนจะเป็นกุรบ่าน วาญิบหรือบางส่วนเป็นสุนัตก็ตาม นี่คือมัซฮับอัชชาฟิอีย์


และ ตามนี้อิหม่ามอะฮฺหมัด, ดาวูด และปวงปราชญ์ได้กล่าวเอาไว้ เว้นเสียแต่ว่า ท่านดาวูดระบุว่าอนุญาตให้ร่วมกันในกรณีกุรบ่านสุนัตเท่านั้น แต่อิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.) มีทัศนะว่า : ไม่อนุญาตให้ร่วมกันโดยสิ้นเชิง เหมือนกับกรณีที่ไม่อนุญาตให้ร่วมส่วนในแกะหรือแพะ 1 ตัว (กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 8 หน้า 370-371) ดังนั้นที่ว่า วัว 1 ตัวแบ่งได้ 7 ส่วนก็หมายถึงการทำกุรบ่าน (อุฎฮียะฮฺ) และอะกีเกาะฮฺนั่นเอง หมายความว่า อะกีเกาะฮฺ วัว 1 ตัวก็สามารถทำร่วมกันได้ 7 ส่วน (7 คน) ตามมัซฮับ อัชชาฟีอีย์และบางปราชญ์ แต่ถ้าตามอิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.) ก็ย่อมถือว่า ไม่อนุญาตให้ทำอะกีเกาะฮฺร่วมกัน (คือได้เพียง 1ส่วน) เหมือนกับกรณีของ กุรบ่าน


อย่างไรก็ตาม การทำอะกีเกาะฮฺด้วยวัวก็มีทัศนะขัด แย้งกันอีกว่าได้หรือไม่ ที่ดีควรทำตามซุนนะฮฺ คือ ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็ทำอะกีเกาะฮฺด้วยแกะ 2 ตัวถ้าเป็นเด็กผู้หญิงก็ทำอะกีเกาะฮฺ 1 ตัว หรือจะทำเพียงแค่ 1 ตัวก็ถือว่าได้ซุนนะฮฺแล้วเช่นกัน (ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง)



ส่วน จำนวนวันที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านนั้นก็คือ วันอีดอัฎฮา (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันเชือดเยาวฺมุนนะฮฺริ) และวันตัชรีกอีก 3 วัน โดยตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์เริ่มเข้าเวลาที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านได้ เมื่อดวงตะวันขึ้นในวันอีดแล้วผ่านช่วงเวลาขนาดละหมาดอีดและ 2 คุตบะฮฺ เมื่อเชือดกุรบ่านหลังเวลาที่ว่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ (อัลมัจญ์มูอฺ เล่มที่ 8 หน้า 359) ส่วนเวลาสุดท้ายก็คือ ก่อนดวงตะวันของวันที่ 3 จากวันตัชรีกลับขอบฟ้าเมื่อดวงตะวันลับขอบฟ้าก็ออกจากเวลาที่อนุญาตให้เชือด กุรบ่าน (อ้างแล้ว 8/358)



ที่ว่าจำนวนวันของการเชือดกุ รบ่าน คือ วันอีดและวันตัชรีก 3 วันนั้นเป็นทัศนะในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ และเป็นคำกล่าวของท่านอะลี, ญุบัยร์, อิบนุ อับบาส, อะฏออฺ อัลหะซัน อัลบะซอรีย์, อุมัร อิบนุ อับดิลอะซีซ เป็นต้น ส่วนอิหม่ามมาลิก, อบูฮะนีฟะฮฺ และอะฮฺหมัด กล่าวว่า เฉพาะวันอีดและอีก 2 วันหลังจากวันอีด ซึ่งทัศนะนี้มีสายรายงานจากท่านอุมัร, อิบนุ อุมัร และท่านอนัส (ร.ฎ.) ในขณะที่มีบางทัศนะระบุว่า เชือดกุรบ่านได้จนถึงสิ้นเดือนซุ้ลฮิจญะฮฺไปโน่นก็มี (อ้างแล้ว 8/360-361)



อนึ่งในช่วงเวลาระหว่างวันต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านนั้น อนุญาตให้เชือดได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน แต่ในทัศนะของนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ระบุว่า : ในกรณีการเชือดสัตว์อื่นจากกุรบ่านในเวลากลางคืนนั้นมักรูฮฺส่วนในกรณีของกุ รบ่านนั้น มักรูฮฺมากหน่อย (أشدكراهة) -(อ้างแล้ว 8/358)
เนื้อกุ รบ่านที่เป็นกุรบ่านสุนัตนั้น มีซุนนะฮฺให้เจ้าของกุรบ่านรับประทานเนื้อส่วนหนึ่ง และอนุญาตให้ทำซอดะเกาะฮฺทั้งหมดก็ได้ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนเอาไว้กินส่วนหนึ่ง ทำซอดะเกาะฮฺ 2 ใน 3 ส่วนแก่คนยากจนก็ถือว่าอัฟฎ้อล (ดีที่สุด) ซึ่งคนยากจนที่ว่านี้คนเดียวก็ได้ (อ้างแล้ว 8/392) ส่วนเนื้อกุรบ่านที่เป็นวาญิบ (กุรบ่านนะซัรฺ) ไม่อนุญาตให้เจ้าของกินเนื้อนั้น ถ้าเกิดไปกินก็ต้องชดใช้ตามค่า (กีมะฮฺ) ของเนื้อที่กินไป โดยต้องทำซะดอเกาะฮฺเนื้อกุรบ่านประเภทนี้ทั้งหมดแก่คนยากจน (อ้างแล้ว 8/394)































คำนำ
รายงานเรื่องการทำกุรบานเป็นรายงานที่กลุ่ของดิฉันจัดทำขึ้นมวเพื่อให้น้องๆรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้

และกลุ่มของดิฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์ให้กับทุกคนไม่มากก็น้อย
หากรายงานเล่มนี้มีความผิดพลาดประการใดกลุ่มของดิฉันต้องขอมาอัฟไว้ณ.ที่นี้ด้วย

จัดทำโดย
นักเรียนชั้นม.5/2









รายงาน
เรื่อง การทำกุรบาน
เสนอ
อาจารย์ นิรันดร์ หมัดเหล๊ะ
จัดทำโดย
1.นางสาวกันยา สุประทุม เลขที่1 ม5/2
2. นางสาวอรวรรณ อิหลำ เลขที่16 ม.5/2
3. นางสาวศุภรัตน์ การดี เลขที่29 ม.5/2
4.นางสาวสารีน่า โต๊ะสลำ เลขที่33 ม.5/2

ปีการศึกษา2553/2
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

การทำอากีเกาะห์

รายงาน
เรื่อง การทำอากีเกาะห์
เสนอ
อาจารย์ นิรันดร์ หมัดเหล๊าะ
จัดทำโดย
1. นางสาวเรวดี หวันดุหมิด เลขที่ 39
2. นางสาววรรณิดา จันทอง เลขที่ 40
3. นางสาวกรรณิกา ยียมเจริญ เลขที่42
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิคห์
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ








คำนำ
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิกห์ ที่กลุ่มของดิฉันได้จัดทำขึ้นเพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการทำอากีเกาะห์ หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยน่ะค่ะ

คณะจัดทำ

















สารบัญ
เรื่อง หน้า
1. อากีเกาะห์เป็นสุนัตมุอักกัต 1
2. หลักฐานในการทำอากีเกาะห์ 1
3. ขั้นตอนหลังจากการให้กำเนิดบุตร 2






















1
อากีเกาะฮ์

อากีเกาะฮ์ (العقيقة) เป็นซุนนะฮ์ มุอักกัด
อากีเกาะฮ์ คือ สิ่งที่จะถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด โดยจะเชือดให้กับเด็กผู้ชายคือแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงคือแกะ 1 ตัว
อากีเกาะฮ์ตามหลักภาษาแล้ว คือชื่อของเส้นผมที่อยู่บนหัวของเด็กแรกเกิด
และความหมายของอากีเกาะฮ์ตามหลักนิติบัญญัติ คือ ชื่อของสิ่งที่จะถูกเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นวันที่มีการโกนผมไฟ

หลักฐานในการทำอากีเกาะฮ์
อากีเกาะฮ์เป็นซุนนะฮ์ ซึ่งได้มีรายงานจากพระนางอาอีชะฮ์ และฮาดิษ จากท่านอื่นๆ เช่น
ฮาดิษของท่านสัมเราะฮ์ ได้กล่าวว่า
قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - (( الغُلاَمُ مُرْتَهَنٌ بِعَقِيْقَتِهِ يُذْبَحُ عَنْه فِي اليَوْمِ السَّابِعِ ، وَيُحْلَقُ رَأْسُهُ وَيُسَمَّى )) رواه الإمام أحمد والترميذي وصححه الحاكم وصحح إسناده.
ความว่า: ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะห์ของเขา ซึ่งอากีเกาะห์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
อากีเกาะฮ์จะเชือดให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงแกะ 1 ตัว ดังที่มีรายงานจากอุมมู่กัรซฺ ว่า
أن النبي - صلى الله عليه وسلم - قال (( عَنِ الغُلاَمِ شَاتَانِ وعَنِ الجَارِيةِ شَاةٌ )) أخرجه أبو داود.
ความว่า: แท้จริงท่านนะบี ได้กล่าวว่า “จะแทนเด็กผู้ชาย 2 ตัวแกะ และจะแทนเด็กผู้หญิง 1 ตัวแกะ”
และได้มีฮาดิษ จากพระนางอาอีชะฮ์ว่า
(( أَمَرَنَا رَسُولُ الله - صلى الله عليه وسلم – أنْ نَعُقَّ عَنِ الغُلامِ بِشَاتَيْنِ وَعَنِ الجَارِيةِ بِشَاةٍ )) رواه الترميذي وابن ماجه وابن حبان في صحيحه.
ความว่า: “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้สั่งใช้เราให้ทำอากีเกาะห์ให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงด้วยกับแกะ 1 ตัว”
ในวันที่เด็กเกิดจะถูกนับไป 7 วัน ซึ่งวันนั้นจะถูกนับตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หากว่าเด็กเกิดหลังจากพระอาทิตย์ตกไปแล้วให้เริ่มนับวันถัดไป ท่านรอฟีอีและคนอื่นๆได้กล่าวเสริมว่า “ไม่ควรเกิน 7 วัน”
ในหนังสืออัลอุดดะห์และหนังสืออัลฮาวีย์ของท่านมาวัรดีย์ได้ระบุว่า
“แท้จริงอากีเกาะฮ์หลังวันที่ 7 จะต้องชดใช้ หากเกิน 7 วันไปแล้ว ที่ดีไม่ให้เกินระยะการหมดนิฟาสของมารดา (นิฟาส คือเลือดที่ออกมาขณะคลอดบุตร ซึ่งอย่างน้อยของนิฟาสคือ
2
ช่วงเวลาไม่กี่นาที และอย่างมากไม่เกิน 10 วัน) และหากว่าเกินระยะหมดนิฟาส ที่ดีก็ไม่ให้เกินระยะการให้นมเด็ก (2 ปีเต็มตามศาสนบัญญัติ) และหากว่าเกินระยะการให้นมเด็ก ที่ดีก็ไม่ให้เกิน 7 ปี และหากว่าเกิน 7 ปี ที่ดีก็ไม่ให้เกินบรรลุนิติภาวะของเด็ก และหากว่าเกินบรรลุนิติภาวะ อากีเกาะห์จะหลุดไป โดยตกไปอยู่ในการรับผิดชอบของผู้ถูกกำเนิด ดังนั้นเขาจะต้องเป็นผู้เลือกในการทำอากีเกาะห์ให้กับตัวเองในตอนโต”

ขั้นตอนหลังจากให้กำเนิดบุตร
สิ่งที่ควรทำหลังจากให้กำเนิดบุตร
1. ให้แจ้งข่าวดี เพราะอัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
أَنَّ اللَّهَ يُبَشِّرُكَ بِيَحْيَى
ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีให้กับท่านด้วยกับยะห์ยา”
2. ให้อาซานใส่หูขวา และอิกอมะฮ์ใส่หูซ้ายเด็ก
ได้มีฮาดิษของท่านอบีรอเฟียะอฺว่า
“แท้จริงฉันเห็นท่านศาสดาอาซานละหมาดใส่หูท่านฮาซัน อิบนุ อาลี ในขณะที่พระนางฟาติมะห์ให้กำเนิด”
และมีสุนัตให้อ่านอัลกุรอานบทอาละอิมรอนโองการที่ 36 ว่า
وَإنِّى أُعِيْذُها بِكَ وَذُرِّيَّتَهَا مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
3. ให้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม
ได้มีฮาดิษของท่านอบีมูซาว่า
“ลูกชายของฉันได้ถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็ได้นำตัวไปหาท่านนะบี แล้วท่านได้ตั้งชื่อให้ว่า อิบรอฮีม และได้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม”

สิ่งที่ควรทำในวันที่ 7 หลังคลอดบุตร
1. โกนผมไฟ
โกนผมไฟ และให้บริจาคเป็นเงินเท่ากับน้ำหนักของเส้นผมที่โกน
ศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวกับพระนางฟาติมะห์เมื่อคลอดท่านฮาซันว่า

“จงโกนผมฮาซันและจงจ่ายซอดาเกาะฮ์ เท่ากับน้ำหนักของเส้นผมเป็นเงินให้กับคนยากจน”
2. ตั้งชื่อเด็ก
โดยอนุญาตให้ตั้งชื่อได้ในวันที่ 1 หรือวันที่ 3 จนวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันทำอากีเกาะฮ์
ท่านนะบีได้กล่าวว่า
“ในคืนนั้นลูกของฉันถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็เรียกชื่อเขาว่า อิบรอฮีม”
3. ทำการขลิบอวัยวะเพศ
3
ซึ่งเวลาของการขลิบ บางทรรศนะได้กล่าวว่า จะต้องอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกจากการเกิด บางทรรศนะกล่าวว่า ให้ขลิบก่อนบรรลุนิติภาวะ และที่ถูกต้องและประเสริฐที่สุด คือ วันที่ 7 หลังจากถูกให้กำเนิด
ได้มีฮาดิษของท่านญาบีรว่า
“ท่านศาสดามูฮัมมัดได้ทำอากีเกาะฮ์ ในกับท่านฮาซันและฮูเซ็น และได้ทำการขลิบอวัยวะเพศของทั้งสองในวันที่ 7”
แน่นอนการขลิบสำหรับผู้ชายถือว่าเป็นวายิบ สำหรับผู้หญิงคือสุนัต
ลักษณะของแกะที่จะนำมาทำอากีเกาะฮ์ ต้องครบ 1 ปีเต็ม และจะต้องไม่มีตำหนิ และสามารถที่จะนำเอาอูฐหรือวัวมาทำอากีเกาะฮ์ได้
ให้ทำการกล่าว “باسم الله ، اللهم منك وإليك عقيقة فلان” ขณะเชือด และให้เชือดขณะพระอาทิตย์ขึ้น ท่านอิหม่ามนาวาวีย์ได้ให้น้ำหนักว่า ควรที่จะเชือดอากีเกาะห์หลังจากโกนผมไฟ เพราะได้ปฏิบัติตามการกล่าวอย่างเป็นลำดับของฮาดิษที่ว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะฮ์ของเขา ซึ่งอากีเกาะฮ์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
ให้ฟันเนื้ออากีเกาะฮ์โดยไม่ให้กระดูกแตก เพื่อเป็นการทำให้เกิดลางดีด้วยกับการมีอวัยวะที่สมบูรณ์และปราศจากข้อตำหนิของเด็ก (อ้างอิงหนังสือ: อัลวาซีต ฟีลมัซฮับ เล่มที่ 7 หน้าที่152-153 หนังสือ ตั้วะฟะตุ้ลอะวัซย์)
ท่านอิบนุ อัซซิบาฆได้กล่าวว่า หากว่ากระดูกแตก ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามแต่อย่างได้ (เพราะการถือลางดีนั้นท่านนบีสนับสนุน แต่การถือลางร้ายนั้นท่านนบีห้ามเด็ดขาด)
ให้นำเนื้ออากีเกาะฮ์ มาทำเป็นอาหารและนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากจน

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

กัฟฟาเราะห์

กัฟฟาเราะห์
เสนอ
อ.นิรันดร์ หมัดเหล๊าะ
จัดทำโดย
นางสาวกุสุมา หวุ่นกับหมัด เลขที่ 3
นางสาวซูไรด้า ราชเพ็ชร เลขที่ 5
นางสาวศรินยา ถวายเทียน เลขที่12
นางสาวฮูไรด้า เหล๊าะโต๊ะหมัน เลขที่17
นายประเสริฐ สาและ เลขที่18

คำนำ
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิกฮ์ ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องกัฟฟาเราะห์หากข้าพเจ้าและเพื่อนทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ณโอกาสนี้ด้วย
จัดทำโดย
สมาชิกในกลุ่ม


สารบัญ
เรื่อง หน้า
กัฟฟาเราะห์ 1-7





เรื่องกัฟฟาเราะห์
คำว่า “กัฟฟาเราะห์” (اَلْكَفَّارَةُ) ตามหลักภาษา เอามาจากคำว่า (اَلْكَفْرُ) ที่มีความหมายว่า การปกปิด เพราะว่ามันจะคลุมความผิด และบาปเอาไว้ กัฟฟาเราะห์ดังกล่าวนั้นจะเป็นการบริจาคทาน หรือการถือศีลอด หรือที่คล้าย ๆ กับทั้งสอง โดยถือเป็นบัญญัติโดยมติของปวงปราชญ์ เพื่อเป็นการชดเชยความผิดบางอย่าง และความผิดพลาดตามศาสนบัญญัติ
กัฟฟาเราะห์ คือ การบริจาคทานหรือถือศีลอดเมื่อผิดสาบาน การบริจาคทานนั้นอาจจะเลือกสิ่งต่อไปนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไปนี้ คือ หนึ่ง การปลดทาสให้เป็นไท สอง ให้เครื่องนุ้มห่มแก่คนยากจน 10 คน เป็นทาส สาม เลี้ยงอาหารสองเมื่อแก่คนยากจน หรือ ก็ต้องถือศีลอด 3 วัน ติดต่อกัน ตามทัศนะของฮะนะฟี อัษเษารี และทัศนะหนึ่งของชาฟีอี ส่วนมาลีกีและชาฟีอีนอีกทัศนะหนึ่ง เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องติดต่อกัน ในเรื่องการถือศีลอดนั้น ไม่วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์ โดยมติของปวงปราชญ์ สำหรับผู้ที่ร่วมเพศกับภรรยา (ในช่วงกลางวันของการถือศีลอด) ถึงแม้จะเจตนาก็ตามโดยไม่มีอุปสรรคก็ตาม - หรือกินหรือดื่ม – ในการถือศีลอดสุนัตหรือในการถือศีลอดที่เป็นกัฟฟาเราะห์ อันเนื่องจากการร่วมเพศทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการวงจรวงเวียน แต่วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์โดยมติของปวงปราชญ์สำหรับผู้ที่ตั้งใจร่วมเพศโดยไม่มีอุปสรรคในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน
แต่พวกเขามีความเห็นขัดแย้งกันในการวาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ด้วยมติของปวงปราชญ์โดยลืม หรือผิดพลาดเช่นเดียวกับพวกเขาก็มีความเห็นไม่ตรงกันในการวาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ในกรณีที่จงใจละศีลอดด้วยการกินการดื่มในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอนโดยไม่มีอุปสรรค
อย่างนี้แหละ ที่บรรดานักนิติศาสตร์ได้มีความเห็นขัดแย้งกันในข้อชี้ขาดที่ว่า วาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์สำหรับผู้ที่ร่วมเพศในช่วงถือศีลอดที่เป็นฟัรฎู นอกจากการถือศีลอดที่เป็นกัฟฟาเราะห์ อันเนื่องจากการร่วมเพศ - เช่นเดียวกันที่เขาถือศีลอดเพื่อชดใช้ของเดือนรอมฎอน หรือศีลอดอันเนื่องจากบนบานเอาไว้ หรือศีลอดอันเนื่องจากกัฟฟาเราะห์ซิหาเราะห์ หรือกัฟฟาเราะห์ ฆ่าผิดพลาดโดยจะสรุปคำพูดของพวกเขาเป็น 3 มัษหับต่อไปนี้
มัษหับที่ 1 มีความเห็นว่า ไม่มีการเสียกัฟฟาเราะห์เลยในการทำให้เสียศีลอดวาญิบ ยกเว้นการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ ที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามในมัษหับทั้งสี่ และกลุ่มอัซซอหิรียะห์ได้กล่าวเอาไว้ หลักฐานของพวกเขา คือ กัฟฟาเราะห์ ได้มีมาเพื่อเปิดเผยข้อห้ามในเดือนรอมฎอน โดยไม่ให้มีการละเมิด เพราะไม่อนุญาตให้ล้มเลิกการถือศีลอด
มัษหับที่ 2 มีความเห็นว่า จำเป็นต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ในการทำให้เสียศีลอดที่ชดใช้ของเดือนอันเนื่องจากร่วมเพศ ซึ่งเป็นทัศนะของก้อตาดะห์ หลักฐานในเรื่องนี้ ก็คือการเปรียบเทียบ (อนุมาน) การถือศีลอดชดใช้ของเดือนรอมฎอน กับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเช่นกับการทำฮัจญ์และอุมเราะห์
มัษหับที่ 3 มีความเห็นว่า วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์ในการทำให้เสียการถือศีลอดที่วาญิบ ที่จะต้องชดเชยด้วยการถือศีลอดชดใช้ เช่นคนหนึ่งบนบาน ว่าจะถือศีลอดตลอดปี ซึ่งเป็นคำพูดของชะฮ์นูน และอิบนุลมาญิซูน จากกลุ่มอัลมาลิกียะห์ หลักฐานของพวกเขา คือ เป็นการเปรียบเทียบ (อนุมาน) สิ่งที่ไม่สามารถจะชดเชยด้วยการถือศีลอดใช้ในเดือนรอมฎอน โดยที่ไม่สามารถจะชดเชยเช่นเดียวกันด้วยการถือศีลอดชดใช้เพราะได้มีรายงานมาว่า การถือศีลอดตลอดปีนั้นไม่มีการชดใช้แม้ว่าเขาจะถือศีลอดก็ตาม
ทัศนะที่มีน้ำหนัก สามารถจะประสานกันโดยพิจารณาดูหลักฐาน เลือกเอาที่แข็งแรงกว่า ระมัดระวังการจำแนกระหว่างสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามของเดือนนั้นและการถือศีลอด และระหว่างสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับการถือศีลอดเพียงอย่างเดียว
ในฮะดีสซึ่งรายงานโดยอะบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวถึงชายคนหนึ่งได้สมสู่กับภรรยาของเขาในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน และว่าเขาจะต้องถือศีลอดใช้และไถ่โทษหรือไถ่บาป คือจะต้องปล่อยทาสให้อิสระ ถ้าเขาไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาแจกอาหารให้คนยากจน 60 คน ผู้ใดที่จำเป็นแก่เขาจะต้องไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเร๊าะฮฺแต่เขาไม่สามารถที่จะปล่อยทาสให้เป็นอิสระได้ หรือไม่สามารถที่จะถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกันได้ หรือไม่สามารถที่จะแจกอาหารให้แก่คนยากจน 60 คนได้ การไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเร๊าะฮฺก็ตกไป หรือถูกยกเลิกไป คือไม่ต้องกระทำการไถ่บาป เพราะไม่เป็นการบังคับหรือเป็นภาระหน้าที่เว้นแต่เมื่อมีความสามารถ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับผู้ใด เว้นแต่ด้วยความสามารถของเขา“ (2/286)
และด้วยหลักฐานการกระทำของท่านร่อซูลุลลอฮฺ คือท่านได้ยกเลิกการไถ่บาปจากชายคนหนึ่ง เมื่อเขาเล่าให้ท่านฟังถึงความยากจนของเขา แล้วท่านได้นำเอาอินทผลัมถุงหนึ่งให้เขาไปเพื่อเอาไปให้ครอบครัวของเขากินกัน
ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายภรรยาไม่จำเป็นต้องไถ่บาป เพราะท่านนะบี ได้รับทราบจากการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างชายคนนั้นกับภรรยาของเขา ท่านร่อซูลมิได้บังคับให้ฝ่ายภรรยากระทำนอกจากการไถ่บาปครั้งเดียวโดยฝ่ายสามี อัลลอฮฺทรงรอบรู้ดียิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ความประเสริฐคืนนิสฟูชะอฺบาน

ความประเสริฐคืนนิสฟูชะอฺบาน

เดือนชะอฺบาน เป็นอีกเดือนหนึ่งที่ประชาชาติอิสลามให้ความสำคัญ เป็นเดือนแห่งอรัมภบทสำหรับเดือนร่อมะฏอนอันมีเกียรติ อีกทั้งเป็นเดือนแห่งการฝึกฝนในการถือศีลอด การละหมาดสุนัต และปฏิบัติคุณงามความดีต่าง ๆ เพื่อลิ้มรสความใกล้ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลาและดื่มด่ำความหอมหวานของอิหม่าน ดังนั้น เมื่อเดือนรอมะฏอนมาถึง พวกเขาจึงมีความเคยชินและมีความพร้อมที่จะตอบรับภารกิจอันสำคัญ

ท่าน อัตติรมีซีย์ ได้กล่าวรายงาน ด้วยสายรายงานถึงท่านหญิงอาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านหญิงกล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้หายจากฉันไปในคืนหนึ่ง ดังนั้น ฉันจึงออกไปข้างนอก ทันใดนั้น ปรากฏว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์อยู่ที่บะเกี๊ยะอฺ แล้วท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า เธอกลัวว่าอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์จะอธรรมแก่เธอกระนั้นหรือ? ฉันกล่าวว่า โอ้ ร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันคิดว่า ท่านไปหาภริยาบางคน ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงประทานความจำเริญลงมายังฟากฟ้าชั้นล่าง แล้วพระองค์ก็ทรงอภัยโทษ(ให้กับปวงบ่าว) มากกว่าจำนวนขนแกะของ(ชาว)กัลบ์"

ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า "ในเรื่องนี้ ได้มีรายงานจากท่านอบูบักร อัศศิดดีก และหะดิษของท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้น เราไม่รู้มาเลย นอกจากสายรายงานนี้ ที่รายงานจาก อัลฮัจญาจญฺ ซึ่งฉันได้ยินท่านมุฮัมมัด(บินอิสมาอีลอัลบุคอรีย์) กล่าวฏออีฟกับหะดิษนี้ และท่านยะหฺยา บิน อะบีกะษีรกล่าวว่า เขาไม่ได้ยินมาจากท่านอุรวะฮ์ และอัลฮัจญาจญฺ บิน อัรเฏาะอะฮ์นั้น ไม่ได้ยินมาจาก ยะหฺยา บิน อะบีกะษีร" ดู สุนัน อัตติรมีซีย์ เล่ม 3 หน้า 166 ท่านอิบนุมาญะฮ์ได้รายงานไว้ ในเล่มที่ 1 หน้า 444 , ท่านอิมามอะหฺมัด ได้รายงานไว้ในหนังสือมุสนัด เล่ม 6 หน้า 238 , และท่านอิบนุอบีชัยบะฮ์ ได้รายงานไว้ในหนังสือมุซ๊อนนัฟ เล่ม 6 หน้า 108

ท่าน อัลบัยรูตีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัสนา อัลมะฏอลิบ หน้าที่ 86 ว่า "ท่านอัดดารุกุฏนีย์ กล่าวว่า สายรายงานนี้ สับสน ไม่ได้รับการยืนยัน"

แต่หะดิษนี้ ยังมีสายรายงานอื่นมาสนับสนุนซึ่งได้กล่าวรายงานไว้ในหนังสือ "ฟาฏออิล อัลเอาฏ๊อต" ของท่าน อัลบัยฮะกีย์ หน้า 128 ว่า "ได้เล่าให้เราทราบโดย อบูอับดิลลาฮ์ เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอบูญะฟัร มุฮัมมัด บิน ซอลิหฺ บิน ฮานีอ์ เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย อิบรอฮีม บิน อิสฮาก อัลฆุซัยลีย์ เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย วะฮ์บฺ บิน บุก๊อยยะฮ์ เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเราโดย สะอีด บิน อับดุลกะรีม อัลวาซิฏีย์ จากอบูนั๊วะอฺมาน อัลซะอฺดีย์ จาก อบีร่อญาอฺ อัลอะฏอริดีย์ จากท่านอะนัส บิน มาลิก ท่านกล่าวว่า "ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ใช้ให้ฉันไปยังบ้านของท่านหญิงอาอิชะฮ์(ร.ฏ.) เกี่ยวกับธุระหนึ่ง ดังนั้น ฉันจึงกล่าวกับนางว่า ท่านหญิงจงรีบซิ เพราะฉันได้ปล่อยให้ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์สนทนากับพวกเขาเกี่ยวกับคืนนิสฟูชะอฺบาน ดังนั้น ท่านหญิงกล่าวว่า โอ้ อุนัยส์(ชื่อเล่นของท่านอะนัส) ท่านจงนั่งก่อนซิ แล้วฉันจะเล่าหะดิษหนึ่งเกี่ยวกับคืนนิสฟูชะอฺบานให้ท่านฟัง..แท้จริงคืน(นิสฟูชะอฺบาน)นั้นเป็นคืนของฉัน(ที่อยู่)กับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ซึ่งท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า โอ้ ฮุมัยรออฺ (ชื่อเล่นของพระนางอาอิชะฮ์ แปลว่าแดงระเรื่อ หมายถึง พระนางอาอิชะฮ์เป็นสาวแก้มแดงแบบพอดี) เธอรู้หรือไม่ว่า แท้จริงคืนนี้คือคืนนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งคืนนี้อัลเลาะฮ์ทรงปลดปล่อยปวงบ่าวออกจากไฟนรก เท่าจำนวนของขนแกะของ(ชาว)กัลบ์(ที่มีขนมาก)..."

รายงานจากท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) "เมื่อถึงคืนนิสฟูชะอฺบาน พวกท่านจงละหมาด(ทำอิบาดะฮ์)ในช่วงกลางคืนและทำการถือศีลอดในช่วงกลางวัน เพราะหลังจากดวงอาทิตย์ลับ อัลเลาะฮ์ทรงลง(ความจำเริญ) มาสู่ฟากฟ้าชั้นล่างสุด และพระองค์กล่าวว่า ไม่มีผู้ขออภัยโทษกับข้าฯดอกหรือ เพื่อข้าฯจะอภัยให้แก่เขา ไม่มีผู้วอนขอริสกีดอกหรือ เพื่อข้าฯจะประทานริสกีให้แก่เขา ไม่มีผู้ได้รับบาลออฺการทดสอบดอกหรือ เพื่อข้าฯจะให้เขาหาย ไม่มีผู้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ดอกหรือ จนกระทั่งแสงอรุณขึ้น" รายงานโดย อิบนุมาญะฮ์ ไว้ในสุนันของท่าน 1/444 , ท่านอัลบัยฮะกีย์ ในหนังสือ ชะอฺบุลอีมาน 3/379 , และท่าน อับดุรร๊อซซาก ไว้ในหนังสือ อัลมุซ๊อนนัฟ หะดิษที่ 7923
ท่านอัลอิรอกีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ ตักรีจญฺ อะหาดิษ อัลอิหฺยาอฺ 1/203 ว่า "สายรายงานหะดิษนี้ฏออีฟ"

รายงานจากอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะทรงมองมาจากมัคโลคของท่านในค่ำคืนนิสฟูชะอฺบาน ดังนั้นพระองค์ทรงอภัยให้แก่บรรดาปวงบ่าวนอกจากสองบุคคลเท่านั้น คือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกันและผู้ที่ฆ่ากับชีวิตหนึ่ง" ดู มัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 8/126 ของท่านอัลฮัยษะมี และมุสนัดอิมามอะห์มัด 2/176 อะห์หมัดชากิร กล่าวว่า หะดิษนี้ซอฮิห์

รายงานจากมุอาซฺ บิน ญะบัล ว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะมองมายังมัคโลคของพระองค์ในคืนนิสฟูชะอฺบาน แล้วพระองค์ก็จะทรงอภัยให้บรรดามัคโลคทั้งหมดนอกจากผู้ตั้งภาคีหรือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกัน" ซอฮิห์อิบนุฮิบบาน 12/481 และมัจญ์มะอฺอัซซะวาอิด 8/126 ท่านอัลฮัยษะมีย์กล่าวว่า นักรายงานเชื่อถือได้

ความจริงยังมีหะดิษอีกมากมายที่รายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของคืนนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งมีทั้งสายรายงานที่ซอฮิห์และสายรายงานที่ฏออีฟที่สามารถได้รับการเกลื้อหนุนยกระดับซึ่งกันและกันได้ตามหลักวิชาหะดิษ

เจ้าของหนังสือตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วาซีย์ กล่าว่วา "ท่านจงรู้เถิดว่า แท้จริงมีหลายหะดิษที่รายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของคืนนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งเมื่อประมวลบรรดาหะดิษเหล่านี้แล้ว ย่อมชี้ให้เห็นว่า บรรดาหะดิษต่าง ๆ เหล่านี้มีที่มา...ดังนั้นบรรดาหะดิษเหล่านี้ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันต่อผู้ที่อ้างว่าความประเสริฐของคืนนิสฟูชะอฺบานไม่ได้รับการยืนยันจากหะดิษใดเลย วัลลอฮุอะลัม" ตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วาซีย์ 3/365

ท่านอัลหาฟิซฺ อัลมุนาวีย์ กล่าวว่า "อัลมัจญ์ อิบนุ ตัยมียะฮ์ กล่าวว่า คืนนิสฟูชะอฺบานนั้น ได้ถูกรายงานถึงความประเสริฐของมัน จากบรรดาหะดิษและคำกล่าวของสะลัฟที่บอกให้ทราบว่า คืนนิสฟูชะอฺบานมีความประเสริฐ และสะลัฟส่วนหนึ่งได้ทำการละหมาดในคืนนิสฟูชะอฺบานเป็นพิเศษและทำการถือศีลอดในคืนนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งมีบรรดาหะดิษซอฮิห์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว" ฟัยดุลก่อดีร 2/317

แม้กระทั่งอัลบานีย์เองก็ยังตัดสินว่า หะดิษความประเสริฐของคืนนิสฟูชะอฺบานนั้นซอฮิห์ ไว้ในหนังสือ อัซซัลซิละฮ์อัซซ่อฮีฮะฮ์ หะดิษที่ 1144 และในหนังสือซอฮิห์อิบนุมาญะฮ์ 1/233

ทัศนะของสะลัฟเกี่ยวกับคืนนิสฟูชะบาน

ท่านอัลคอลล้าล ได้รายงานไว้ในหนังสือ ความประเสริฐของเดือนร่อญับ จากสายรายงานจากท่านคอลิด บิน มะอฺดาน เขากล่าวว่า ในหนึ่งปี มีอยู่ 5 คืน ที่ผู้ใดหมั่นทำความดีในคืนเหล่านั้น โดยหวังผลบุญและเชื่อในสัญญาให้ผลบุญกับคืนเหล่านั้น อัลเลาะฮ์จะให้เขาได้เข้าสวรรค์ คือ คืนแรกของเดือนระญับ โดยเขาทำอิบาดะฮ์ในยามกลางคืนและถือศีลอดในยามกลางวัน คืนอีดฟิตร์ คืนอีดอัฏหา คืนอาชูรออ์ และคืนนิสฟูชะอฺบาน" ดู หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ของท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ 2 /160

ท่านอัลคอฏีบ ได้รายงานไว้ในหนังสือ ฆุนยะฮ์ อัลมุลตะมิส ด้วยสายรายงานถึงท่าน อุมัร บิน อับดุลอะซีซ ว่า ท่านได้ทำการเขียนสารไปยัง อะดีย์ บิน อัรเฏาะอะฮ์ ว่า "ท่านจงใส่ใจกับ 4 คืน ในหนึ่งปี เพราะอัลเลาะฮ์ทรงประทานความจำเริญในคืนเหล่านั้น คือ คืนแรกของเดือนร่อญับ คืนนิสฟูชะอฺบาน คืนอีดฟิตร์ และคืนอีดอัฏฮา" ดู หนังสือ อัตตัลคีศ อัลหะบีร ของท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์ 2/160

ท่านอิบนุรอญับ กล่าวว่า "ท่านสะอีด บิน มันซูร รายงานว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดย อบู มะอฺชัร จาก อบูหาซิมและมุฮัมมัด บิน ก๊อยซ์ จากท่าน อะฏออ์ บิน ยะซาร ท่านกล่าวว่า "ไม่มีคืนใดหลังจากคืนลัยละตุลก่อดัรที่จะประเสริฐยิ่งไปกล่าวคืนนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงประทานความเมตตามาสู่ฟากฟ้าชั้นล่าง แล้วพระองค์ก็ทรงประทานอภัยโทษแก่ปวงบ่าวของพระองค์ทั้งหมด นอกจาก ผู้ตั้งภาคี , ผู้สร้างความโกรธเคืองกันและกัน , และผู้ที่ตัดญาติขาดมิตร" ดู หนังสือ ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ หน้า 263

คำกล่าวของนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม

ท่านอิมามชาฟีอีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอุม ว่า ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืนอีดอัฏฮา คืนอีดฟิตร์ คืนแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะอฺบานดู 2 /264

และอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่าข้าพเจ้ารัก(ที่จะให้กระทำ)กับทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รายงานเกี่ยวกับบรรดาคืนเหล่านี้ โดยที่ไม่ใช่เป็นฟัรดูแหล่งอ้างอิงเดียวกัน

ท่านอิมามอบูชามะฮ์ กล่าวไว้ในหนังสือ อัลบิดะอฺ วะ อัลหะวาดิษ ว่า ท่านอิมามอิบนุ ซอลาห์ ได้กล่าวไว้ในฟัตวาหนึ่งของท่านว่า สำหรับคืนนิสฟูชะอฺบานนั้น มีความประเสริฐ และการฟื้นฟูการทำอิบาดะฮ์ในคืนนิสฟูชะบาน เป็นสิ่งที่สุนัต แต่ให้ทำเพียงคนเดียว ไม่ใช่เป็นกลุ่มดู หน้า 44

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เราเฏาะฮ์ อัตตอลิบีน ว่าได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืออีดอัฏฮา คืนอีดฟิตร์ คือแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะอฺบาน และและอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่าข้าพเจ้ารัก(ที่จะให้กระทำ)กับทุกสิ่งที่ได้ข้าพเจ้าได้รายงานเกี่ยวกับบรรดาคืนเหล่านี้ โดยที่ไม่ใช่เป็นฟัรดูดู 2/75

ท่านอิมาม อัรรอมลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นิฮายะตุลมั๊วะตาจญฺ ว่า รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ซึ่งท่านได้ทำการฟื้นฟูการทำอิบาดะฮ์ ในสองคืนอีดฟิตรและอัฏฮา ด้วยการละหมาดอีชาแบบญะมาอะฮ์ และตั้งใจละหมาดซุบฮ์แบบญะมาอะฮ์ และการขอดุอาอ์ในคืนอีดฟิตร์และอัฏฮา คืนวันศุกร์ ช่วงคืนแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะบานนั้น จะถูกตอบรับ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ชอบ(มุสตะฮับ)ให้กระทำดู 2/397

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวว่า สำหรับคือนิสฟูชะอฺบานนั้น ได้มีบรรดาหะดิษ คำกล่าวของซอฮาบะฮ์และมีการถ่ายทอดการกระทำจากกลุ่มหนึ่งของสะลัฟว่าพวกเขาได้ทำการละหมาดในคือนิสฟูชะอฺบาน ดังนั้น การละหมาดในคืนนิสฟูชะอฺบาน โดยลำพังคนเดียว คือสิ่งที่สะลัฟได้กระทำกันมาก่อนหน้านี้ โดยมีหลักฐานมายืนยันให้แก่เขา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถูกตำหนิกับการกระทำเช่นนี้ แต่สำหรับการละหมาดในคืนนิสฟูชะอฺบานแบบญะมาอะฮ์นั้น ก็ถือว่าตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานทั่วไปจากส่งเสริมให้ทำการรวมตัวกันกระทำการฏออัตภักดีและทำอิบาะฮ์ดู มัจญมั๊วะ อัลฟะตาวา 23/132

ท่านอิบนุรอญับ กล่าวว่าคืนนิสฟูชะอฺบานนั้น บรรดาตาบิอีนจากเมืองชาม เช่น ท่านคอลิต บิน มะอฺดาน , ท่านมักฮูล ท่านลุกมาน บิน อามิร , และท่านอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับคืนนิสฟูชะอฺบาน พวกเขาทำการอิจญฮาด(บากบั่นหมั่นเพียร)ทำอิบาดะฮ์ในคืนนั้น และจากการกระทำของพวกเขาเหล่านั้น บรรดาผู้คนจึงให้ความสำคัญกับความประเสริฐของคืนนิสฟูชะอฺบาน และมีการกล่าวกันว่า ดังกล่าว มีสายรายงานอิสรออีลียาต(สายรายงานที่มาจากบนีอิสรออีล)ได้ทราบมาถึงพวกเขา เมื่อสิ่งดังกล่าวได้เลื่องลือมาจากพวกเขา ได้เข้ามาในเมืองต่าง ๆ กลุ่มหนึ่งจากนักทำอิบาดะฮ์ของเมืองบัสเราะฮ์และเมืองอื่น ๆ จึงให้การตอบรับและมีความเห็นพร้องกับการให้ความสำคัญของคืนนิสฟูชะอฺบาน...ดู หนังสือ ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ หน้า 263

การถือศีลอดเดือนชะอฺบาน

ท่านอุซามะฮ์ บิน เซด กล่าวว่า "ฉันได้กล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันไม่เคยเห็นท่านทำการถือศีลอดในเดือนหนึ่งจากบรรดาเดือนทั้งหลายเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานเลย ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ดังกล่าวเป็นเดือนที่ผู้คนทั้งหลายลืม ซึ่งมันอยู่ระหว่างเดือนร่อญับและเดือนร่อมะฏอน และ(เดือนชะอฺบานนั้น)มันเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลทั้งหลายถูกรายงานสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้นท่านจึงชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกรายงานในสภาพที่ฉันถือศีลอด" รายงานโดยอันนะซาอี (2317)

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน กล่าวว่า "ฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดอย่างสมบูรณ์ในเดือนใดเดือนหนึ่งนอกจากเดือนร่อมะฏอน และฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์จะทำการถือศีลอดจากเดือนหนึ่งมากไปว่าเดือนชะอฺบาน" รายงานโดยบุคอรีย์(1833)

รายงานหนึ่งระบุว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยถือศีลอดในเดือนหนึ่งมากไปกว่าเดือนชะอฺบาน เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยทำการถือศีลอดเดือนชะอฺบาน(เกือบ)ทั้งเดือน" รายงานโดยบุคอรีย์(1834)

และอีกสายรายงานหนึ่งระบุเช่นกันว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทำการถือศีลอดเดือนชะอฺบาน นอกจากเพียงเล็กน้อย(จากเดือนชะอฺบานเท่านั้นที่ท่านไม่ได้ถือศีลอด)" รายงานโดยมุสลิม(1156)

ท่านอัตติรมีซีย์ ได้รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อเข้าสู่ครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอด" ดู หะดิษที่ 738 ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะดิษนี้ซอฮิห์

ท่านอิบนุมาญะฮ์ รายงานว่า "เมื่อถึงครึ่งหนึ่งของเดือนชะอฺบานแล้ว จะไม่มีการถือศีลอด จนกว่าจะเข้าสู่รอมะฏอน" ดู หะดิษที่ 1651

แต่จะไม่ห้ามการถือศีลอดในวันที่สงสัย(ว่าเข้าเดือนรอมะฏอนแล้วหรือยัง) และไม่ห้ามการถือศีลอดในครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน เมื่อมันไปตรงกับวันที่ผู้ถือศีลอดได้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ หรือเขาได้ถือศีลอดต่อเนื่องกันมาจนเข้าสู่ครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน

ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ รายงานจากท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมความว่า "ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอดก่อนเข้าสู่รอมะฏอนหนึ่งวันหรือสองวัน นอกจากผู้ที่ได้ถือศีลอดเป็นประจำ ก็ให้เขาถือศีลอดเถิด" รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

สรุป : คือ การถือศีลอดเดือนชะอฺบานนั้นถือว่าเป็นสุนัตเพราะท่านนบี ถือศีลอดเดือนชะอฺบานเป็นประจำ แต่หากตั้งใจจะถือศีลอดเพียงแค่ครึ่งหลังของเดือนชะอฺบานโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ เช่น กอฏอชดใช้ศีลอด ถือศีลอดจันทร์และพฤหัสบี เป็นต้น ก็ถือว่าฮะรอมนะครับ ( ดู หนังสือมุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/177)

อัล-ฟารูก

بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

เดือนชะอฺบานนั้น ยังเป็นเดือนที่มีความประเสริฐและมีความโดดเด่นกว่าเดือนอื่น ๆ เดือนนี้ถือเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลถูกยกนำเสนอต่ออัลเลาะฮ์ ตาอาลา เป็นเดือนที่อัลเลาะฮ์ตาอาลา ทรงเมตตาต่อบรรดาผู้ขอความเมตตาต่อพระองค์ เป็นเดือนที่พระองค์ทรงอภัยโทษแก่บรดาผู้ขออภัยโทษกับพระองค์ และยังเป็นเดือนที่อัลเลาะฮ์ ตาอาลา ทรงปลดปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ออกจากไฟนรก

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน กล่าวว่า "ฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดสมบูรณ์ในเดือนหนึ่งนอกจากเดือนร่อมะฏอน และฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์จะทำการถือศีลอดจากเดือนหนึ่งมากไปว่าเดือนชะอฺบาน" รายงานโดยบุคอรีย์

ท่านอุซามะฮ์ บิน เซด กล่าวว่า "ฉันได้กล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันไม่เคยเห็นท่านทำการถือศีลอดในเดือนหนึ่งจากบรรดาเดือนทั้งหลายเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานเลย ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ดังกล่าวเป็นเดือนที่ผู้คนทั้งหลายลืม ซึ่งมันอยู่ระหว่างเดือนร่อญับและเดือนร่อมะฏอน และ(เดือนชะอฺบานนั้น)มันเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลทั้งหลายถูกรายงานสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้นท่านจึงชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกรายงานในสภาพที่ฉันถือศีลอด" รายงานโดยอันนะซาอี

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวหะดิษนี้ให้แก่เรา เพื่อผลักดันให้ทุกคนมีสายใยแห่งอีหม่านเกิดขึ้นระหว่างเขากับอัลเลาะฮ์ด้วยการทำอิบาดะฮ์ เพื่อให้ทุกคนหวนกลับไปยังพระองค์โดยทำการเตาบะฮ์จากบาปต่าง ๆ ของเขา เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทกระทำความดีงามในทุกรูปแบบเพื่อบรรดาอะมัลของเขาจะถูกนำเสนอไปยังอัลเลาะฮ์ในเดือนชะอฺบานนี้ และหวังว่าบรรดาอะมัลคุณงามดีต่าง ๆ ที่ได้กระทำในเดือนนี้จะได้ลบล้างความชั่วต่าง ๆ ที่เราได้กระทำผ่านพ้นมา แม้จะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาแล้วก็ตาม อินชาอัลเลาะฮ์

รายงานจากท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) "เมื่อถึงคืนนิสฟูชะอฺบาน พวกท่านจงละหมาด(ทำอิบาดะฮ์)ในช่วงกลางคืนและทำการถือศีลอดในช่วงกลางวัน เพราะหลังจากดวงอาทิตย์ลับ อัลเลาะฮ์ทรงลง(ความจำเริญ) มาสู่ฟากฟ้าชั้นล่างสุด และพระองค์กล่าวว่า ไม่มีผู้ขออภัยโทษกับข้าฯดอกหรือ เพื่อข้าฯจะอภัยให้แก่เขา ไม่มีผู้วอนขอริสกีดอกหรือ เพื่อข้าฯจะประทานริสกีให้แก่เขา ไม่มีผู้ได้รับบาลออฺการทดสอบดอกหรือ เพื่อข้าฯจะให้เขาหาย ไม่มีผู้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ดอกหรือ จนกระทั่งแสงอรุณขึ้น" รายงานโดย อิบนุมาญะฮ์ และ ท่านอัลบัยฮะกีย์

รายงานจากอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะทรงมองมาจากมัคโลคของท่านในค่ำคืนนิสฟูชะอฺบาน ดังนั้นพระองค์ทรงอภัยให้แก่บรรดาปวงบ่าวนอกจากสองบุคคลเท่านั้น คือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกันและผู้ที่ฆ่ากับชีวิตหนึ่ง" รายงานโดยท่านอิมามอะห์มัด

รายงานจากมุอาซฺ บิน ญะบัล ว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์จะมองมายังมัคโลคของพระองค์ในคืนนิสฟูชะอฺบาน แล้วพระองค์ก็จะทรงอภัยให้บรรดามัคโลคทั้งหมดนอกจากผู้ตั้งภาคีหรือผู้ที่สร้างความรังเกียจต่อกัน" รายงานโดยท่านอิบนุฮิบาน

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เรามีความจำเป็นที่จะต้องฉวยโอกาสในยามที่อัลเลาะฮ์ทรงสำแดงความเมตตาที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ ซึ่งเราก็ทราบดีว่าเรานั้นมีบาปที่ไม่สามารถรอดพ้นจากมันได้เลย นอกจากเสียว่าเราจะทำการเก็บเกี่ยวช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกเล่าให้เราทราบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานความเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์ และไม่มีหนทางใดอีกแล้วนอกจากโอกาสเหล่านี้ที่เราจะวอนขอความเมตตาต่ออัลเลาะฮ์ ขออภัยโทษต่อพระองค์ ทำการแผ่ฝ่ามือวอนขอต่อพระองค์อย่างนอบน้อมเพื่อให้พระองค์ทรงบรรเทาลดบาปต่าง ๆ ให้ออกไปจากเรา และให้พระองค์ทรงอภัยและประทานสุขภาพที่ดีแก่เรา

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เดือนชะอฺบานนี้ เป็นเดือนที่ผู้คนมากมายต่างหลงลืมถึงความสำคัญที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ ดังนั้น หากเราจะมองและพิจารณาถึงความเมตตาของอัลเลาะฮ์ตาอาลา นั้น สมมุติว่ามีบ่าวคนหนึ่งที่มีความอธรรมต่อตัวเขาเองอีกทั้งยังมีบาปหนา ได้รุดไปยังประตูของอัลเลาะฮ์แล้วทำการเคาะประตูนั้นเพื่อขออภัยโทษจากพระองค์ แต่ความจริงแล้วกลับตรงกันข้าม เพราะอัลเลาะฮ์ตาอาลาจะทรงเชื่อมสัมพันธ์กับปวงบ่าวของพระองค์ด้วยการเรียกร้องให้พวกเขาหวนกลับไปปรับปรุงตนเองกับพระองค์ เรียกร้องพวกเขาให้เข้าไปสู่ปกเกล้าของพระองค์เพื่อจะทรงประทานความเมตตาและอภัยโทษให้กับพวกเขา อีกทั้งยังปลดเปลื้องบาปให้ออกไป ซึ่งนั่นคือรูปแบบหนึ่งจากรูปแบบต่าง ๆ แห่งความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อปวงบ่าว มันเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้มนุษย์มีความละอายต่อพระองค์ กล่าวคือความละอายของมนุษย์ที่ไม่ทำการเตาบัตขออภัยโทษและขอความเมตตาต่อพระองค์ ทั้งที่พระองค์ทรงเปิดโอกาสเป็นพิเศษให้ในเดือนชะอฺบานนี้แล้ว

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เดือนชะอฺบานนี้ อัลเลาะฮ์ทรงเรียกร้องพวกเราไปสู่พระองค์ในทุกโมงยามเพื่อพระองค์จะทรงประทานความเมตตาและอภัยโทษ แต่เรากลับทำเพิกเฉย หันหลังให้ ทำไม่รู้ไม่ชี้อย่างไม่ละอาย ทั้งที่พระองค์กำลังกล่าวแก่เราว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่เราได้อนุญาตให้พวกเจ้ากลับมายังเราก่อนที่โอกาสอันดีจะสิ้นสุดลง ซึ่งมันถึงเวลาแล้ว

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

أَلَمْ يَأْنِ لِلَّذِينَ آمَنُوا أَنْ تَخْشَعَ قُلُوبُهُمْ لِذِكْرِ اللَّهِ وَما نَزَلَ مِنَ الْحَقِّ وَلا يَكُونُوا كَالَّذِينَ أُوتُوا الْكِتابَ مِنْ قَبْلُ فَطالَ عَلَيْهِمُ الأَمَدُ فَقَسَتْ قُلُوبُهُمْ

"ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ สำหรับบรรดาผู้มีศรัทธาที่หัวใจของพวกเขาจะนอบน้อมเพื่อการรำลึกถึงอัลเลาะฮ์ และระลึกถึงสัจธรรมที่ประทานลงมา(สู่พวกเขา)? และพวกเขาจงอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่เคยถูกประทานคัมภีร์ให้เมื่อยุคก่อน ๆ แต่แล้วเมื่อกาลเวลาได้ผ่านพวกเขาไปอย่างยาวนาน หัวใจของพวกเขาก็แข็งกระด้างและส่วนมากของพวกเขาล้วนเป็นผู้ฝ่าฝืน" อัลหะดีด 16
นั่นคือรูปแบบหนึ่งจากรูปแบบต่าง ๆ จากความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่มีเกียรติยิ่ง

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมิใช่หมายความว่า เป็นความเพียงพอสำหรับมุสลิมคนหนึ่งที่ได้หวนกลับไปหาอัลเลาะฮ์เพื่อขอเพิ่มพูนความเมตตาและขออภัยต่ออัลเลาะฮ์ให้กับตัวเขาเองเพียงแค่โอกาสนี้เพียงเท่านั้น พอโอกาสนี้หมดไปเขาก็กลับมาทำการฝ่าฝืนเหมือนเดิม ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายโปรดเข้าใจว่า โอกาสต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้นั้นมีอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดตอน ซึ่งมันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความเมตตาของอัลเลาะฮ์ที่เราต้องตระหนักว่า เราต้องมุ่งสู่พระองค์อย่างสม่ำเสมอ

พระองค์ทรงตรัสความว่า

وَاعْبُدْ رَبَّكَ حَتَّى يَأْتِيَكَ الْيَقِينُ

"เจ้าจงอิบาดะฮ์ต่อองค์อภิบาลของเจ้าจนกว่า (ความตายอันเป็นสิ่งที่เจ้ามี) ความมั่นใจมาประสบแก่ตัวเจ้า" อัลฮิจริ์ 99

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

قُلْ إِنَّ صَلاتِي وَنُسُكِي وَمَحْيايَ وَمَماتِي لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِينَ

"จงประกาศเถิด แท้จริงการละหมาดของฉัน , การทำอิบาดะฮ์ของฉัน , การมีชีวิตของฉัน , และการตายของฉัน เพื่ออัลเลาะฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งโลกทั้งมวล" อัลอันอาม 162

ดังนั้น เราจำเป็นต้องทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา จนกระทั่งตาย แต่เดือนชะอฺบานถือเป็นโอกาสหนึ่งที่สำคัญในการหวนกลับไปสู่การขอการอภัยโทษที่เราต้องฉวยเก็บเกี่ยวมันไว้ อย่ารอไว้โอกาสหน้า เพราะบางครั้งท่านอาจจะไม่มีโอกาสหน้าอีกแล้ว เนื่องจากความตายอาจจะมาเยือนท่านได้ทุกเวลา

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย สมควรที่เราจำต้องทราบว่า ความเป็นทาสบ่าวของเราที่มีต่ออัลเลาะฮ์นั้น เป็นสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ภายใน ความเป็นทาสบ่าวของเรานั้นยังเป็นตัวตนอยู่ภายในตัวเราที่ไม่มีวันเปลี่ยนผัน ดังนั้น การทำอะบาดะฮ์ของเราจึงต้องคงมีอยู่ตลอดไป อิบาดะฮ์นั้นมีปลายประเภท ซึ่งอิบาดะฮ์ลำดับแรก ๆ ที่ประเสริฐยิ่งคือการมุ่งวอนขอดุอาอ์อันนอบน้อมต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา เพราะฉะนั้น ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเป็นบ่าวที่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ เขาก็ยังต้องการที่จะให้พระองค์ทรงคุ้มครองดูแล เหตุดังกล่าวนี้ เราจึงต้องวอนขอความช่วยเหลือและขอดุอาอ์ต่อพระองค์ในทุกเวลา คืนนิสฟูชะอฺบาน เราจงขอให้อภัยโทษต่ออัลเลาะฮ์ ขอให้พระองค์ทรงประทานริสกีที่ดี และขอความช่วยเหลือจากพระองค์ให้พ้นจากภัยบะลอกันเถิด

أقول قولى هذا وأستغفر الله العظيم لى ولكم