วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำกุรบ่าน

การกุรบานในอิสลาม

การกุรบานเป็นอิบาดะฮ์หนึ่งจากอิบาดะฮ์ด้านทรัพย์สินและเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอิสลาม ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเนื่องจากคุณสมบัติพิเศษนี้เองจึงทำให้การกุรบานเป็นอิบาดะฮ์ที่ความสำคัญและสถานภาพที่สูงส่งอีกอิบาดะฮ์หนึ่ง
ความหมายของกุรบาน
ความหมายตามพจนานุกรม กุรบาน หมายถึง การนำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเป็นสื่อในความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ) ซึ่งสิ่งนั้นอาจจะเป็นการเชือดสัตว์หรือสิ่งอื่นๆ ก็ได้
อุลามาอ์บางท่านกล่าวว่า การกระทำทุกๆ ความดีงามที่เหตุให้มุ่งสู่ความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์(ซ.บ) ก็เรียกว่า “การกุรบาน” เช่นกัน
แต่ตามความเข้าใจของผู้คนทั่วไปจะเรียกการกุรบาน ว่าคือ การนำสัตว์มาเชือดพลีทาน เพื่อความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้าในวันอีดกุรบาน และคำนี้มีกล่าวไว้หลายครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งส่วนมากแล้วจะหมายถึงการเชือดสัตว์พลีทาน
ประวัติความเป็นมาของการกุรบาน
การกุรบานเพื่อความใกล้ชิดต่อพระผู้อภิบาลนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคของท่านนบีอาดัม(อ.) ผู้เป็นบิดาแห่งมนุษยชาติ เมื่อครั้งที่บุตรทั้งสองของท่าน ฮาบีลได้นำอูฐและกอบีลได้นำข้าวบาเล่ย์มาทำกุรบานต่อพระผู้อภิบาล ซึ่งพระองค์ทรงตอบรับการกุรบานของฮาบีลในครั้งนั้น
อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 27 ว่า:
إِذْ قَرَّبَا قُرْبَانًا فَتُقُبِّلَ مِنْ أَحَدِهِمَا وَلَمْ يُتَقَبَّلْ مِنَ الآخَر
“ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสองคนและมิได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง”
หลังจากนั้นเป็นต้นมาศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้าก็ถือว่าการกุรบาน เป็นอิบาดะฮ์หนึ่ง และเราจะเห็นได้ว่าทุกๆประชาชาติไม่ว่าจะนับถือศาสนาที่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ต่างก็นำสัตว์มาเชือดพลีทานหรือนำสิ่งอื่นมาพลีต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของพวกเขา
เหตุการณ์การกุรบานครั้งประวัติศาสตร์
การกุรบาน คือสัญลักษณ์หนึ่งของศาสนา และเป็นบัญญัติหนึ่งมาตั้งแต่ยุคสมัยของท่านนบีอาดัม(อ.) แต่เหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในยุคบุรุษแห่งประวัติศาสตร์ ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) ที่ท่านได้นำ อิสมาอีลบุตรชายคนเดียวของท่านมาทำการกุรบาน และหลังจากได้ผ่านการทดสอบครั้งประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นี้ ยิ่งทำให้การกุรบานมีความสำคัญและสถานภาพที่สูงส่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะบุคคลิกภาพที่สูงส่งของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) นั้นเป็นที่ยอมรับของศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอิสลาม ยูดายและคริสต์ และเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและน่าแปลกยิ่ง ก็เนื่องจากว่าผู้เป็นบิดาได้ทำการกุรบานบุตรชายสุดที่รักคนเดียวของท่าน โดยเหตุการณ์ครั้งได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ศอฟฟาต และยังถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ของชาวคริสต์เช่นกัน
การกุรบานบุตรชาย
อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า:
فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قَالَ يَا بُنَيَّ إِنِّي أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ فَانْظُرْ مَاذَا تَرَى قَالَ يَا أَبَتِ افْعَلْ مَا تُؤْمَرُ سَتَجِدُنِي إِنْ شَاءَ اللَّهُ مِنَ الصَّابِرِينَ
ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นช่วยเหลือตัวเองกับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ลูกเอ๋ย! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร?” เขากล่าวว่า “โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีความอดทน” (ซูเราะฮ์ศอฟฟาต โองการที่ 102)
กล่าวคือเป็นวัยที่อิสมาอีลสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้วซึ่งนักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่ามีอายุประมาณ 13 ปี
ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.) ฝันเห็นเรื่องราวอันแปลกประหลาด (ความฝันของบรรดาศาสดาเป็นวะฮ์ยูของพระผู้เป็นเจ้า) ความฝันอันแปลกประหลาดนี้คือจุดเริ่มต้นของการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านทำการกุรบานบุตรชายสุดที่รักคนเดียวของท่าน ผู้เป็นบิดาได้เล่าความฝันทั้งหมดให้บุตรชายฟังและนับได้ว่าเป็นบททดสอบที่หนักที่สุดและเป็นบททดสอบสุดท้ายของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)
قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيَا إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ (105) إِنَّ هَذَا لَهُوَ الْبَلاءُ الْمُبِينُ (106) وَفَدَيْنَاهُ بِذِبْحٍ عَظِيمٍ
“แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย” แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้งแน่นอน และเราได้ให้ค่าไถ่ตัวเขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง (ซูเราะฮ์ศอฟฟาต โองการที่ 105)
พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแกะตัวใหญ่มาแทนการเชือดอิสมาอีล และได้กลายเป็นแบบฉบับสำหรับประชาชาติในพิธีฮัจญ์ในผืนแผ่นดินมีนานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
















กรุบาน,การทำกรุบาน



الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

สัตว์จำพวกแพะแกะใช้ทำกุรบ่านได้ เพียง 1 ส่วน แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่จำพวกอูฐ และวัว อนุญาตให้ร่วมกันทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน ไม่ว่าผู้ร่วมทำกุรบ่านตัวนั้นจะเป็นคนในครอบครัวเดียวกันหรือไม่ก็ตามหรือ จะมีความแตกต่างกันในเป้าหมาย เช่น 1 ใน 7 คนต้องการทำกุรบ่าน (อุฎฮียะฮฺ) ในขณะที่บางคนต้องการเนื้อเอาไว้รับประทาน บางคนต้องการส่วนเพื่อทำอะกีเกาะฮฺ และไม่ว่าบางส่วนจะเป็นกุรบ่าน วาญิบหรือบางส่วนเป็นสุนัตก็ตาม นี่คือมัซฮับอัชชาฟิอีย์


และ ตามนี้อิหม่ามอะฮฺหมัด, ดาวูด และปวงปราชญ์ได้กล่าวเอาไว้ เว้นเสียแต่ว่า ท่านดาวูดระบุว่าอนุญาตให้ร่วมกันในกรณีกุรบ่านสุนัตเท่านั้น แต่อิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.) มีทัศนะว่า : ไม่อนุญาตให้ร่วมกันโดยสิ้นเชิง เหมือนกับกรณีที่ไม่อนุญาตให้ร่วมส่วนในแกะหรือแพะ 1 ตัว (กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 8 หน้า 370-371) ดังนั้นที่ว่า วัว 1 ตัวแบ่งได้ 7 ส่วนก็หมายถึงการทำกุรบ่าน (อุฎฮียะฮฺ) และอะกีเกาะฮฺนั่นเอง หมายความว่า อะกีเกาะฮฺ วัว 1 ตัวก็สามารถทำร่วมกันได้ 7 ส่วน (7 คน) ตามมัซฮับ อัชชาฟีอีย์และบางปราชญ์ แต่ถ้าตามอิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.) ก็ย่อมถือว่า ไม่อนุญาตให้ทำอะกีเกาะฮฺร่วมกัน (คือได้เพียง 1ส่วน) เหมือนกับกรณีของ กุรบ่าน


อย่างไรก็ตาม การทำอะกีเกาะฮฺด้วยวัวก็มีทัศนะขัด แย้งกันอีกว่าได้หรือไม่ ที่ดีควรทำตามซุนนะฮฺ คือ ถ้าเป็นเด็กผู้ชายก็ทำอะกีเกาะฮฺด้วยแกะ 2 ตัวถ้าเป็นเด็กผู้หญิงก็ทำอะกีเกาะฮฺ 1 ตัว หรือจะทำเพียงแค่ 1 ตัวก็ถือว่าได้ซุนนะฮฺแล้วเช่นกัน (ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง)



ส่วน จำนวนวันที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านนั้นก็คือ วันอีดอัฎฮา (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันเชือดเยาวฺมุนนะฮฺริ) และวันตัชรีกอีก 3 วัน โดยตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์เริ่มเข้าเวลาที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านได้ เมื่อดวงตะวันขึ้นในวันอีดแล้วผ่านช่วงเวลาขนาดละหมาดอีดและ 2 คุตบะฮฺ เมื่อเชือดกุรบ่านหลังเวลาที่ว่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ (อัลมัจญ์มูอฺ เล่มที่ 8 หน้า 359) ส่วนเวลาสุดท้ายก็คือ ก่อนดวงตะวันของวันที่ 3 จากวันตัชรีกลับขอบฟ้าเมื่อดวงตะวันลับขอบฟ้าก็ออกจากเวลาที่อนุญาตให้เชือด กุรบ่าน (อ้างแล้ว 8/358)



ที่ว่าจำนวนวันของการเชือดกุ รบ่าน คือ วันอีดและวันตัชรีก 3 วันนั้นเป็นทัศนะในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ และเป็นคำกล่าวของท่านอะลี, ญุบัยร์, อิบนุ อับบาส, อะฏออฺ อัลหะซัน อัลบะซอรีย์, อุมัร อิบนุ อับดิลอะซีซ เป็นต้น ส่วนอิหม่ามมาลิก, อบูฮะนีฟะฮฺ และอะฮฺหมัด กล่าวว่า เฉพาะวันอีดและอีก 2 วันหลังจากวันอีด ซึ่งทัศนะนี้มีสายรายงานจากท่านอุมัร, อิบนุ อุมัร และท่านอนัส (ร.ฎ.) ในขณะที่มีบางทัศนะระบุว่า เชือดกุรบ่านได้จนถึงสิ้นเดือนซุ้ลฮิจญะฮฺไปโน่นก็มี (อ้างแล้ว 8/360-361)



อนึ่งในช่วงเวลาระหว่างวันต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชือดกุรบ่านนั้น อนุญาตให้เชือดได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน แต่ในทัศนะของนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ระบุว่า : ในกรณีการเชือดสัตว์อื่นจากกุรบ่านในเวลากลางคืนนั้นมักรูฮฺส่วนในกรณีของกุ รบ่านนั้น มักรูฮฺมากหน่อย (أشدكراهة) -(อ้างแล้ว 8/358)
เนื้อกุ รบ่านที่เป็นกุรบ่านสุนัตนั้น มีซุนนะฮฺให้เจ้าของกุรบ่านรับประทานเนื้อส่วนหนึ่ง และอนุญาตให้ทำซอดะเกาะฮฺทั้งหมดก็ได้ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนเอาไว้กินส่วนหนึ่ง ทำซอดะเกาะฮฺ 2 ใน 3 ส่วนแก่คนยากจนก็ถือว่าอัฟฎ้อล (ดีที่สุด) ซึ่งคนยากจนที่ว่านี้คนเดียวก็ได้ (อ้างแล้ว 8/392) ส่วนเนื้อกุรบ่านที่เป็นวาญิบ (กุรบ่านนะซัรฺ) ไม่อนุญาตให้เจ้าของกินเนื้อนั้น ถ้าเกิดไปกินก็ต้องชดใช้ตามค่า (กีมะฮฺ) ของเนื้อที่กินไป โดยต้องทำซะดอเกาะฮฺเนื้อกุรบ่านประเภทนี้ทั้งหมดแก่คนยากจน (อ้างแล้ว 8/394)































คำนำ
รายงานเรื่องการทำกุรบานเป็นรายงานที่กลุ่ของดิฉันจัดทำขึ้นมวเพื่อให้น้องๆรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้

และกลุ่มของดิฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์ให้กับทุกคนไม่มากก็น้อย
หากรายงานเล่มนี้มีความผิดพลาดประการใดกลุ่มของดิฉันต้องขอมาอัฟไว้ณ.ที่นี้ด้วย

จัดทำโดย
นักเรียนชั้นม.5/2









รายงาน
เรื่อง การทำกุรบาน
เสนอ
อาจารย์ นิรันดร์ หมัดเหล๊ะ
จัดทำโดย
1.นางสาวกันยา สุประทุม เลขที่1 ม5/2
2. นางสาวอรวรรณ อิหลำ เลขที่16 ม.5/2
3. นางสาวศุภรัตน์ การดี เลขที่29 ม.5/2
4.นางสาวสารีน่า โต๊ะสลำ เลขที่33 ม.5/2

ปีการศึกษา2553/2
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

การทำอากีเกาะห์

รายงาน
เรื่อง การทำอากีเกาะห์
เสนอ
อาจารย์ นิรันดร์ หมัดเหล๊าะ
จัดทำโดย
1. นางสาวเรวดี หวันดุหมิด เลขที่ 39
2. นางสาววรรณิดา จันทอง เลขที่ 40
3. นางสาวกรรณิกา ยียมเจริญ เลขที่42
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิคห์
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ








คำนำ
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิกห์ ที่กลุ่มของดิฉันได้จัดทำขึ้นเพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการทำอากีเกาะห์ หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยน่ะค่ะ

คณะจัดทำ

















สารบัญ
เรื่อง หน้า
1. อากีเกาะห์เป็นสุนัตมุอักกัต 1
2. หลักฐานในการทำอากีเกาะห์ 1
3. ขั้นตอนหลังจากการให้กำเนิดบุตร 2






















1
อากีเกาะฮ์

อากีเกาะฮ์ (العقيقة) เป็นซุนนะฮ์ มุอักกัด
อากีเกาะฮ์ คือ สิ่งที่จะถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด โดยจะเชือดให้กับเด็กผู้ชายคือแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงคือแกะ 1 ตัว
อากีเกาะฮ์ตามหลักภาษาแล้ว คือชื่อของเส้นผมที่อยู่บนหัวของเด็กแรกเกิด
และความหมายของอากีเกาะฮ์ตามหลักนิติบัญญัติ คือ ชื่อของสิ่งที่จะถูกเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นวันที่มีการโกนผมไฟ

หลักฐานในการทำอากีเกาะฮ์
อากีเกาะฮ์เป็นซุนนะฮ์ ซึ่งได้มีรายงานจากพระนางอาอีชะฮ์ และฮาดิษ จากท่านอื่นๆ เช่น
ฮาดิษของท่านสัมเราะฮ์ ได้กล่าวว่า
قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - (( الغُلاَمُ مُرْتَهَنٌ بِعَقِيْقَتِهِ يُذْبَحُ عَنْه فِي اليَوْمِ السَّابِعِ ، وَيُحْلَقُ رَأْسُهُ وَيُسَمَّى )) رواه الإمام أحمد والترميذي وصححه الحاكم وصحح إسناده.
ความว่า: ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะห์ของเขา ซึ่งอากีเกาะห์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
อากีเกาะฮ์จะเชือดให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงแกะ 1 ตัว ดังที่มีรายงานจากอุมมู่กัรซฺ ว่า
أن النبي - صلى الله عليه وسلم - قال (( عَنِ الغُلاَمِ شَاتَانِ وعَنِ الجَارِيةِ شَاةٌ )) أخرجه أبو داود.
ความว่า: แท้จริงท่านนะบี ได้กล่าวว่า “จะแทนเด็กผู้ชาย 2 ตัวแกะ และจะแทนเด็กผู้หญิง 1 ตัวแกะ”
และได้มีฮาดิษ จากพระนางอาอีชะฮ์ว่า
(( أَمَرَنَا رَسُولُ الله - صلى الله عليه وسلم – أنْ نَعُقَّ عَنِ الغُلامِ بِشَاتَيْنِ وَعَنِ الجَارِيةِ بِشَاةٍ )) رواه الترميذي وابن ماجه وابن حبان في صحيحه.
ความว่า: “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้สั่งใช้เราให้ทำอากีเกาะห์ให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงด้วยกับแกะ 1 ตัว”
ในวันที่เด็กเกิดจะถูกนับไป 7 วัน ซึ่งวันนั้นจะถูกนับตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หากว่าเด็กเกิดหลังจากพระอาทิตย์ตกไปแล้วให้เริ่มนับวันถัดไป ท่านรอฟีอีและคนอื่นๆได้กล่าวเสริมว่า “ไม่ควรเกิน 7 วัน”
ในหนังสืออัลอุดดะห์และหนังสืออัลฮาวีย์ของท่านมาวัรดีย์ได้ระบุว่า
“แท้จริงอากีเกาะฮ์หลังวันที่ 7 จะต้องชดใช้ หากเกิน 7 วันไปแล้ว ที่ดีไม่ให้เกินระยะการหมดนิฟาสของมารดา (นิฟาส คือเลือดที่ออกมาขณะคลอดบุตร ซึ่งอย่างน้อยของนิฟาสคือ
2
ช่วงเวลาไม่กี่นาที และอย่างมากไม่เกิน 10 วัน) และหากว่าเกินระยะหมดนิฟาส ที่ดีก็ไม่ให้เกินระยะการให้นมเด็ก (2 ปีเต็มตามศาสนบัญญัติ) และหากว่าเกินระยะการให้นมเด็ก ที่ดีก็ไม่ให้เกิน 7 ปี และหากว่าเกิน 7 ปี ที่ดีก็ไม่ให้เกินบรรลุนิติภาวะของเด็ก และหากว่าเกินบรรลุนิติภาวะ อากีเกาะห์จะหลุดไป โดยตกไปอยู่ในการรับผิดชอบของผู้ถูกกำเนิด ดังนั้นเขาจะต้องเป็นผู้เลือกในการทำอากีเกาะห์ให้กับตัวเองในตอนโต”

ขั้นตอนหลังจากให้กำเนิดบุตร
สิ่งที่ควรทำหลังจากให้กำเนิดบุตร
1. ให้แจ้งข่าวดี เพราะอัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
أَنَّ اللَّهَ يُبَشِّرُكَ بِيَحْيَى
ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีให้กับท่านด้วยกับยะห์ยา”
2. ให้อาซานใส่หูขวา และอิกอมะฮ์ใส่หูซ้ายเด็ก
ได้มีฮาดิษของท่านอบีรอเฟียะอฺว่า
“แท้จริงฉันเห็นท่านศาสดาอาซานละหมาดใส่หูท่านฮาซัน อิบนุ อาลี ในขณะที่พระนางฟาติมะห์ให้กำเนิด”
และมีสุนัตให้อ่านอัลกุรอานบทอาละอิมรอนโองการที่ 36 ว่า
وَإنِّى أُعِيْذُها بِكَ وَذُرِّيَّتَهَا مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
3. ให้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม
ได้มีฮาดิษของท่านอบีมูซาว่า
“ลูกชายของฉันได้ถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็ได้นำตัวไปหาท่านนะบี แล้วท่านได้ตั้งชื่อให้ว่า อิบรอฮีม และได้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม”

สิ่งที่ควรทำในวันที่ 7 หลังคลอดบุตร
1. โกนผมไฟ
โกนผมไฟ และให้บริจาคเป็นเงินเท่ากับน้ำหนักของเส้นผมที่โกน
ศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวกับพระนางฟาติมะห์เมื่อคลอดท่านฮาซันว่า

“จงโกนผมฮาซันและจงจ่ายซอดาเกาะฮ์ เท่ากับน้ำหนักของเส้นผมเป็นเงินให้กับคนยากจน”
2. ตั้งชื่อเด็ก
โดยอนุญาตให้ตั้งชื่อได้ในวันที่ 1 หรือวันที่ 3 จนวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันทำอากีเกาะฮ์
ท่านนะบีได้กล่าวว่า
“ในคืนนั้นลูกของฉันถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็เรียกชื่อเขาว่า อิบรอฮีม”
3. ทำการขลิบอวัยวะเพศ
3
ซึ่งเวลาของการขลิบ บางทรรศนะได้กล่าวว่า จะต้องอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกจากการเกิด บางทรรศนะกล่าวว่า ให้ขลิบก่อนบรรลุนิติภาวะ และที่ถูกต้องและประเสริฐที่สุด คือ วันที่ 7 หลังจากถูกให้กำเนิด
ได้มีฮาดิษของท่านญาบีรว่า
“ท่านศาสดามูฮัมมัดได้ทำอากีเกาะฮ์ ในกับท่านฮาซันและฮูเซ็น และได้ทำการขลิบอวัยวะเพศของทั้งสองในวันที่ 7”
แน่นอนการขลิบสำหรับผู้ชายถือว่าเป็นวายิบ สำหรับผู้หญิงคือสุนัต
ลักษณะของแกะที่จะนำมาทำอากีเกาะฮ์ ต้องครบ 1 ปีเต็ม และจะต้องไม่มีตำหนิ และสามารถที่จะนำเอาอูฐหรือวัวมาทำอากีเกาะฮ์ได้
ให้ทำการกล่าว “باسم الله ، اللهم منك وإليك عقيقة فلان” ขณะเชือด และให้เชือดขณะพระอาทิตย์ขึ้น ท่านอิหม่ามนาวาวีย์ได้ให้น้ำหนักว่า ควรที่จะเชือดอากีเกาะห์หลังจากโกนผมไฟ เพราะได้ปฏิบัติตามการกล่าวอย่างเป็นลำดับของฮาดิษที่ว่า
“เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะฮ์ของเขา ซึ่งอากีเกาะฮ์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)”
ให้ฟันเนื้ออากีเกาะฮ์โดยไม่ให้กระดูกแตก เพื่อเป็นการทำให้เกิดลางดีด้วยกับการมีอวัยวะที่สมบูรณ์และปราศจากข้อตำหนิของเด็ก (อ้างอิงหนังสือ: อัลวาซีต ฟีลมัซฮับ เล่มที่ 7 หน้าที่152-153 หนังสือ ตั้วะฟะตุ้ลอะวัซย์)
ท่านอิบนุ อัซซิบาฆได้กล่าวว่า หากว่ากระดูกแตก ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามแต่อย่างได้ (เพราะการถือลางดีนั้นท่านนบีสนับสนุน แต่การถือลางร้ายนั้นท่านนบีห้ามเด็ดขาด)
ให้นำเนื้ออากีเกาะฮ์ มาทำเป็นอาหารและนำไปแจกจ่ายให้กับคนยากจน