วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

กัฟฟาเราะห์

กัฟฟาเราะห์
เสนอ
อ.นิรันดร์ หมัดเหล๊าะ
จัดทำโดย
นางสาวกุสุมา หวุ่นกับหมัด เลขที่ 3
นางสาวซูไรด้า ราชเพ็ชร เลขที่ 5
นางสาวศรินยา ถวายเทียน เลขที่12
นางสาวฮูไรด้า เหล๊าะโต๊ะหมัน เลขที่17
นายประเสริฐ สาและ เลขที่18

คำนำ
รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาฟิกฮ์ ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องกัฟฟาเราะห์หากข้าพเจ้าและเพื่อนทำผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ณโอกาสนี้ด้วย
จัดทำโดย
สมาชิกในกลุ่ม


สารบัญ
เรื่อง หน้า
กัฟฟาเราะห์ 1-7





เรื่องกัฟฟาเราะห์
คำว่า “กัฟฟาเราะห์” (اَلْكَفَّارَةُ) ตามหลักภาษา เอามาจากคำว่า (اَلْكَفْرُ) ที่มีความหมายว่า การปกปิด เพราะว่ามันจะคลุมความผิด และบาปเอาไว้ กัฟฟาเราะห์ดังกล่าวนั้นจะเป็นการบริจาคทาน หรือการถือศีลอด หรือที่คล้าย ๆ กับทั้งสอง โดยถือเป็นบัญญัติโดยมติของปวงปราชญ์ เพื่อเป็นการชดเชยความผิดบางอย่าง และความผิดพลาดตามศาสนบัญญัติ
กัฟฟาเราะห์ คือ การบริจาคทานหรือถือศีลอดเมื่อผิดสาบาน การบริจาคทานนั้นอาจจะเลือกสิ่งต่อไปนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไปนี้ คือ หนึ่ง การปลดทาสให้เป็นไท สอง ให้เครื่องนุ้มห่มแก่คนยากจน 10 คน เป็นทาส สาม เลี้ยงอาหารสองเมื่อแก่คนยากจน หรือ ก็ต้องถือศีลอด 3 วัน ติดต่อกัน ตามทัศนะของฮะนะฟี อัษเษารี และทัศนะหนึ่งของชาฟีอี ส่วนมาลีกีและชาฟีอีนอีกทัศนะหนึ่ง เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องติดต่อกัน ในเรื่องการถือศีลอดนั้น ไม่วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์ โดยมติของปวงปราชญ์ สำหรับผู้ที่ร่วมเพศกับภรรยา (ในช่วงกลางวันของการถือศีลอด) ถึงแม้จะเจตนาก็ตามโดยไม่มีอุปสรรคก็ตาม - หรือกินหรือดื่ม – ในการถือศีลอดสุนัตหรือในการถือศีลอดที่เป็นกัฟฟาเราะห์ อันเนื่องจากการร่วมเพศทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการวงจรวงเวียน แต่วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์โดยมติของปวงปราชญ์สำหรับผู้ที่ตั้งใจร่วมเพศโดยไม่มีอุปสรรคในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน
แต่พวกเขามีความเห็นขัดแย้งกันในการวาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ด้วยมติของปวงปราชญ์โดยลืม หรือผิดพลาดเช่นเดียวกับพวกเขาก็มีความเห็นไม่ตรงกันในการวาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ในกรณีที่จงใจละศีลอดด้วยการกินการดื่มในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอนโดยไม่มีอุปสรรค
อย่างนี้แหละ ที่บรรดานักนิติศาสตร์ได้มีความเห็นขัดแย้งกันในข้อชี้ขาดที่ว่า วาญิบต้องเสียกัฟฟาเราะห์สำหรับผู้ที่ร่วมเพศในช่วงถือศีลอดที่เป็นฟัรฎู นอกจากการถือศีลอดที่เป็นกัฟฟาเราะห์ อันเนื่องจากการร่วมเพศ - เช่นเดียวกันที่เขาถือศีลอดเพื่อชดใช้ของเดือนรอมฎอน หรือศีลอดอันเนื่องจากบนบานเอาไว้ หรือศีลอดอันเนื่องจากกัฟฟาเราะห์ซิหาเราะห์ หรือกัฟฟาเราะห์ ฆ่าผิดพลาดโดยจะสรุปคำพูดของพวกเขาเป็น 3 มัษหับต่อไปนี้
มัษหับที่ 1 มีความเห็นว่า ไม่มีการเสียกัฟฟาเราะห์เลยในการทำให้เสียศีลอดวาญิบ ยกเว้นการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ ที่บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามในมัษหับทั้งสี่ และกลุ่มอัซซอหิรียะห์ได้กล่าวเอาไว้ หลักฐานของพวกเขา คือ กัฟฟาเราะห์ ได้มีมาเพื่อเปิดเผยข้อห้ามในเดือนรอมฎอน โดยไม่ให้มีการละเมิด เพราะไม่อนุญาตให้ล้มเลิกการถือศีลอด
มัษหับที่ 2 มีความเห็นว่า จำเป็นต้องเสียกัฟฟาเราะห์ ในการทำให้เสียศีลอดที่ชดใช้ของเดือนอันเนื่องจากร่วมเพศ ซึ่งเป็นทัศนะของก้อตาดะห์ หลักฐานในเรื่องนี้ ก็คือการเปรียบเทียบ (อนุมาน) การถือศีลอดชดใช้ของเดือนรอมฎอน กับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเช่นกับการทำฮัจญ์และอุมเราะห์
มัษหับที่ 3 มีความเห็นว่า วาญิบ (จำเป็น) ต้องเสียกัฟฟาเราะห์ในการทำให้เสียการถือศีลอดที่วาญิบ ที่จะต้องชดเชยด้วยการถือศีลอดชดใช้ เช่นคนหนึ่งบนบาน ว่าจะถือศีลอดตลอดปี ซึ่งเป็นคำพูดของชะฮ์นูน และอิบนุลมาญิซูน จากกลุ่มอัลมาลิกียะห์ หลักฐานของพวกเขา คือ เป็นการเปรียบเทียบ (อนุมาน) สิ่งที่ไม่สามารถจะชดเชยด้วยการถือศีลอดใช้ในเดือนรอมฎอน โดยที่ไม่สามารถจะชดเชยเช่นเดียวกันด้วยการถือศีลอดชดใช้เพราะได้มีรายงานมาว่า การถือศีลอดตลอดปีนั้นไม่มีการชดใช้แม้ว่าเขาจะถือศีลอดก็ตาม
ทัศนะที่มีน้ำหนัก สามารถจะประสานกันโดยพิจารณาดูหลักฐาน เลือกเอาที่แข็งแรงกว่า ระมัดระวังการจำแนกระหว่างสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามของเดือนนั้นและการถือศีลอด และระหว่างสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับการถือศีลอดเพียงอย่างเดียว
ในฮะดีสซึ่งรายงานโดยอะบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวถึงชายคนหนึ่งได้สมสู่กับภรรยาของเขาในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน และว่าเขาจะต้องถือศีลอดใช้และไถ่โทษหรือไถ่บาป คือจะต้องปล่อยทาสให้อิสระ ถ้าเขาไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาแจกอาหารให้คนยากจน 60 คน ผู้ใดที่จำเป็นแก่เขาจะต้องไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเร๊าะฮฺแต่เขาไม่สามารถที่จะปล่อยทาสให้เป็นอิสระได้ หรือไม่สามารถที่จะถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกันได้ หรือไม่สามารถที่จะแจกอาหารให้แก่คนยากจน 60 คนได้ การไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเร๊าะฮฺก็ตกไป หรือถูกยกเลิกไป คือไม่ต้องกระทำการไถ่บาป เพราะไม่เป็นการบังคับหรือเป็นภาระหน้าที่เว้นแต่เมื่อมีความสามารถ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับผู้ใด เว้นแต่ด้วยความสามารถของเขา“ (2/286)
และด้วยหลักฐานการกระทำของท่านร่อซูลุลลอฮฺ คือท่านได้ยกเลิกการไถ่บาปจากชายคนหนึ่ง เมื่อเขาเล่าให้ท่านฟังถึงความยากจนของเขา แล้วท่านได้นำเอาอินทผลัมถุงหนึ่งให้เขาไปเพื่อเอาไปให้ครอบครัวของเขากินกัน
ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายภรรยาไม่จำเป็นต้องไถ่บาป เพราะท่านนะบี ได้รับทราบจากการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างชายคนนั้นกับภรรยาของเขา ท่านร่อซูลมิได้บังคับให้ฝ่ายภรรยากระทำนอกจากการไถ่บาปครั้งเดียวโดยฝ่ายสามี อัลลอฮฺทรงรอบรู้ดียิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น